วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ฝอยทองทองหยิบทองหยอด

                                             ฝอยทองทองหยิบทองหยอด




คล็ดที่ไม่ลับของทองหยอด

                                         เคล็ดที่ไม่ลับ

1.ก่อนที่จะหยอดให้สังเกตน้ำเชื่อม จะเป็นฟองละเอียดแสดงว่าน้ำเชื่อมได้ที่เมื่อหยอดแล้วไข่จะแบน     ในขณะที่จะหยอดน้ำเชื่อมต้องเป็นฟองเดือดพล่าน
2.ในการผสมแป้งจะใส่มากน้อยขึ้นอยู่กับการตีไข่ขึ้นน้อยต้องใส่แป้งน้อย ถ้าใส่มากไปจะทำให้ 
    แป้งข้นมากหยอดไม่ได้ ถ้าตีไข่ขึ้นฟูมากจะต้องเพิ่มแป้ง การใส่แป้งมากน้อยแค่ไหน ให้สังเกต
    ลักษณะไข่ใส่แล้วคน แป้งมีความข้นนิดๆ ไม่ไหลเป็นทางเร็วไปก็ใช้ได้ การที่ส่วนนี้ให้ใส่แป้งข้น
    เหมาะสำหรับคนที่ทำไม่เป็น เริ่มหัดหยอดจะหยอดได้ง่ายขึ้น เมื่อเป็นชำนาญแล้วอาจจะลดส่วน
    แป้งลงจะทำให้สุกเร็วขึ้น 
3.ต้องให้สุกโดยตั้งในน้ำเชื่อมนานหน่อย ถ้าขึ้นเร็วเกินไปจะทำให้ทองหยอดเป็นไต
4.ผู้ที่ไม่เคยทำ ลองหยอดในถ้วยเสียก่อนค่อยลงในน้ำเชื่อม คือปาดแป้งจากปากถ้วยหยอดลงในถ้วยเดิม     สังเกตดูว่าเป็นรูปร่างดีหรือยัง ถ้าเป็นรูปร่างดีค่อยหยอดใส่ลงในน้ำเชื่อม
5.ถ้าจะใช้แป้งข้าวเจ้า จะให้ดีควรอบแป้งด้วยเทียนอบ ให้หอมก่อน หรือจะใช้แป้งทอ



การหยอดขนมฝอยทอง


                               การหยอด

      แล้วแต่ความถนัด แต่ที่ง่ายที่สุดสำหรับคนหยอดไม่เป็นคือ เอียงถ้วยใช้นิ้วชี้ยกขึ้นตั้งฉาก ใช้มือซ้ายถือถ้วย เมื่อเอียงถ้วยไข่จะค่อยๆ ไหลลงมาใช้นิ้วชี้ปาดไข่จากด้านนอกเข้าหาตัว ใช้นิ้วหัวแม่มือ
รูดไข่ลง ขณะเดียวกันนิ้วชี้รูดจากล่างขึ้นบนสวนกับหัวแม่มือแล้วใช้นิ้วชี้ที่รูดขึ้นมาเด็ดไข่ลงให้เป็นหยดน้ำ โดยทำอย่างเร็วหยอดไป หลายๆ ลูกทิ้งไว้ให้เดือดพล่านใช้น้ำเชื่อมใสใส่ลงไป 1/4 ถ้วย 
จะเห็นว่าน้ำเชื่อมที่เดือดเป็นฟองยุบเห็นทองหยอด ทิ้งให้เดือดเป็นฟองอยู่ประมาณ 2 นาที ใส่น้ำเชื่อมใสอีก และทิ้งให้เดือดอีก ทำเช่นนี้ 3 ครั้ง

                            ลักษณะที่ดี
1.ทองหยอดได้รูปสวย คือกลม ถ้าเป็นหยดน้ำจะมีติ่งยื่นมา
2.สีสวย
3.ไม่เป็นไต
4.หวานฉ่ำ
5.เป็นมันไม่มีกลิ่นคาว


                            

ทองหยอด


       ส่วนผสม (ได้ 70 ลูก)
ไข่แดง            15        ฟอง
แป้งทองหยอด 10       ช้อนโต๊ะ
น้ำเชื่อมข้น
น้ำตาลทราย     10        ถ้วย
น้ำลอยดอกไม้    6         ถ้วย
น้ำเชื่อมใส
น้ำตาลทราย      1         ถ้วย
น้ำลอยดอกไม้    2         ถ้วย

วิธีทำ
1.แยกไข่แดงไข่ขาวทำเช่นเดียวกับทองหยิบ
2.ตีไข่ให้ขึ้นฟูมากๆ จะใช้เครื่องตีหรือใช้ที่ตีไข่ด้วยมือก็ได้
3.แบ่งไข่ที่ตีแล้วใส่ในถ้วยหรือชามครั้งละ 1 ถ้วย ใช้แป้ง 4 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน
4.หยอดในน้ำเชื่อมที่เตรียมไว้


รูปทองหยิบ


                         รูปทองหยิบ วิธีการทำและภาพที่เสร็จแล้ว 
วิธีการทำ 

ภาพเสร็จแล้วรสชาติจะหวาน 


วิธีการทำทองหยิบ



                               ส่วนผสม
ไข่เป็ด 10 ฟอง
น้ำตาลทราย 3 ถ้วยตวง
น้ำลอยดอกไม้ 2 ถ้วยตวง
                                วิธีทำ
1.ผสมน้ำลอยดอกไม้ น้ำตาลทราย เคี่ยวให้เป็น้ำเชื่อม สำหรับหยอด
2.แยกไข่ขาวและไข่แดงใช้แต่ใข่แดงตีให้ขึ้นฟูจนไข่เปลี่ยนเป็นสีนวล
3.ตักไข่หยอดใส่ในน้ำเชื่อม ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ให้ไข่เป็นแผ่น หยอดให้เต็มกระทะ รอให้ไข่สุก ตักแผ่นไข่ที่หยอดไว้ใส่ถาดใช้มือจับเป็นจีบ ตามต้องการ แล้วหยิบใส่ถ้วยตะไล รอให้เย็นแล้วจึงแคะออกจากถ้วยตะไล
                              หมายเหตุ
เวลาตักไข่หยอดลงในน้ำเชื่อม ต้องให้น้ำเชื่อมนิ่งเพื่อไข่ที่หยอดจะได้ไม่แตก ถ้าใช้ไข่ไก่ผสมด้วยเนื้อขนมจะนุ่มขึ้นแต่สีที่ได้จะอ่อนลง



ทองหยิบ


                                 ประวัติขนมทองหยิบ-ทองหยอด
เมื่อสมัยอยุธยา
เริ่มมีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างประเทศทั้งชาติตะวันออกและตะวันตก ไทยเรายิ่งรับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ เครื่องมือเครื่องใช้ วัตถุดิบที่หาได้ ตลอดจนนิสัยการบริโภคของคนไทยเอง จนบางทีคนรุ่นหลังแทบจะแยกไม่ออกเลยว่า อะไรคือขนมไทยแท้ๆ อะไรที่เรายืมเค้ามา เช่น ทองหยิบ ทองหยอดและฝอยทอง หลายท่านอาจคิดว่าเป็นของไทยแท้ๆ แต่ความจริงแล้วมีต้นกำเนิดจากประเทศโปรตุเกส โดย มารี กีมาร์หรือ ท้าวทองกีบม้าท้าวทองกีบม้าหรือ มารี กีมาร์เกิดเมื่อ พ.ศ. 2201 หรือ พ.ศ. 2202 แต่บางแห่งก็ว่า พ.ศ. 2209 โดยยึดหลักจากการแต่งงานของเธอที่มีขึ้นในปี พ.ศ. 2225 และขณะนั้น มารี กีมาร์ มีอายุเพียง 16 ปี บิดาชื่อ ฟานิก (Phanick)” เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมแขกเบงกอล ผู้เคร่งศาสนา ส่วนมารดาชื่อ อุรสุลา ยามาดา (Ursula Yamada)” ซึ่งมีเชื่อสายญี่ปุ่นผสมโปรตุเกส ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในอยุธยา ภายหลังจากพวกซามูไรชุดแรกจะเดินทางเข้ามาเป็นทหารอาสา ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไม่นานนัก
ชีวิตช่วงหนึ่งของ ท้าวทองกีบม้าได้เข้าไปรับราชการในพระราชวังตำแหน่ง หัวหน้าห้องเครื่องต้นดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง เป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์ และเก็บผลไม้ของเสวย มีพนักงานอยู่ใต้บังคับบัญชาเป็นหญิงล้วน จำนวน 2,000 คน ซึ่งเธอก็ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ชื่นชม ยกย่อง มีเงินคืนทองพระคลังปีละมากๆ ระหว่างที่รับราชการนี่เอง มารี กีมาร์ ได้สอนการทำขนมหวานจำพวก ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง ทองพลุ ทองโปร่ง ขนมผิงและอื่นๆ ให้แก่ผู้ทำงานอยู่กับเธอและสาวๆ เหล่านั้น ได้นำมาถ่ายทอดต่อมายังแต่ละครอบครัวกระจายไปในหมู่คนไทยมาจนปัจจุบันนี้
ถึงแม้ว่า มารี กีมาร์หรือ ท้าวทองกีบม้าจะมีชาติกำเนิดเป็นชาวต่างชาติ แต่เธอก็เกิด เติบโต มีชีวิตอยูในเมืองไทยจวบจนหมดสิ้นอายุขัย นอกจากนั้น ยังได้ทิ้งสิ่งที่เธอค้นคิดให้เป็นมรดกตกทอดมาสู่คนรุ่นหลัง ได้กล่าวขวัญถึงด้วยความภาคภูมิ ท้าวทองกีบม้า เจ้าตำรับอาหารไทย
                                         ทองหยิบ
ทองหยิบ เป็นขนมโบราณที่อยู่ในชุดของขนมที่ใช้ในงานมงคลต่าง ๆ เช่นกันเพราะขึ้น ต้นด้วยทองซึ่งมีลักษณะและสีคล้ายกัน ทั้งทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ดังนั้น เมื่อนำมาใช้ในพิธีจะใช้เป็นชุดทั้งหมด ซึ่งนอกจากจะถือเคล็ดที่ชื่อขนมขึ้นต้นด้วยทอง แล้ว ยังถือเคล็ดชื่อต่อท้ายคือหยิบ ซึ่งหมายถึง หยิบเงิน หยิบทองอันจะนำไปสู่ความ ร่ำรวยต่อไป

รูปฝอยทองทั้งกรอบและนิ่ม



รูปวิธีการทำฝอยทอง  



วิธีการทำขนมฝอยทอง


                                วิธีการทำขนมฝอยทอง 

ส่วนผสม 
ไข่แดงเป็ด,ไข่แดงไก่, น้ำตาลทราย, ใบเตย, กลิ่นดอกมะลิ,เทียนอบขนม



วิธีทำ

1. น้ำตาลทราย น้ำ ตั้งไฟพอเดือดน้ำตาลละลาย
2. ยกลงกรองด้วยผ้าขาวบาง ตั้งไฟเคี่ยวต่อ
3. ให้น้ำเชื่อมมีลักษณะไม่ข้นหรือใสเกินไป เหมาะสำหรับโรยฝอยทอง
4. ตอกไข่ แยกไข่ขาวออกใช้แต่ไข่แดง และเก็บน้ำไข่ขาวที่ใสไม่เป็นลิ่ม เรียกน้ำค้างไข่
5. นำไข่แดงใส่ผ้าขาวบางรีดเยื่อไข่ออก ผสมไข่แดงกับน้ำค้างไข่ตามส่วน คนให้เข้ากัน
6. เตรียมกระทะทองใส่น้ำเชื่อมเดือด ๆ ไว้ ทำกรวยด้วยใบตอง หรือใช้กรวยโลหะใส่
7.ไข่แดงโรยในน้ำเชื่อมเดือด ๆ ไปรอบ ๆ ประมาณ 20-30 รอบ เส้นไข่สุกใช้ไม้แหลม
8. สอยขึ้นจากน้ำเชื่อม พับเป็นแพ อบด้วยควันเทียนหลังจากเย็นแล้ว


ที่มาขนมฝอยทอง



ฝอยทอง

ฝอยทอง (โปรตุเกส: fios de ovos) เป็นขนมโปรตุเกส ลักษณะเป็นเส้นฝอยๆ สีทอง ทำจากไข่แดงของไข่เป็ด เคี่ยวในน้ำเดือดและน้ำตาลทราย ชาวโปรตุเกสใช้รับประทานกับขนมปัง กับอาหารมื้อหลักจำพวกเนื้อสัตว์ และใช้รับประทานกับขนมเค้ก  โดยมีกำเนิดจากเมืองอาไวโร่
 (โปรตุเกส: Aveiroเมืองชายฝั่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศโปรตุเกส

ฝอยทองแพร่เข้ามาในประเทศไทย พร้อมกับทองหยิบและทองหยอด ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดย ดอนญ่า มารี กีมาร์ เดอปิน่า (ท้าวทองกีบม้าพ.ศ. 2202-2265) ลูกครึ่งโปรตุเกส-ญี่ปุ่น ภริยาของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ท้าวทองกีบม้ามีหน้าที่เป็นหัวหน้าห้องเครื่องต้น เป็นผู้ทำอาหารเลี้ยงต้อนรับคณะราชทูตจากฝรั่งเศสที่มาเยือนกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น


ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นางสาวชุลีพรรณ   มีเผือก

ชื่อเล่น  ปิง   อายุ  15 ปี

เกิด 16  กุมภาพันธ์  2542

ที่อยู่ 56   ม.1 ต.คลองสระ  อ.กาญจนดิษฐ์  จ.สุราษฎร์ธานี 84160

ชอบสีแดง

ชอบสัตว์สนัข

ชอบผลไม้ส้ม